วิธีการ "เขียน" ให้เข้าใจ

[เขียน-schreiben]

เขียนยังไงให้เข้าใจ

สิ่งที่น่าสนใจในการเขียนคือเราเป็นผู้สร้างประโยคนั้นๆ ขึ้นมาเอง ไม่ค่อยเเตกต่างกับการพูดเลยถูกไหมครับ เเต่การเขียนนั้นมันอาจจะดีกว่าสะด้วยซ้ำไป เหตุผลก็คือ มันจะมีเวลาให้เรานึกคิดอยู่ตลอดทุกครั้งเสมอ ว่าเราอยากจะเขียนยังไง? รูปเเบบไหน? หรืออาจจะเขียนผิดไปเเล้วก็สามารถกลับมาเเก้ให้มันถูกก็ได้ก่อนที่เราจะ ส่ง จดหมายที่สำคัญนั้นออกไปถูกไหมครับ มันก็ขึ้นอยู่กับการออกเเบบของตัวเราเอง เเต่สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ความรู้ที่เรามีให้เเก่ คำศัพท์ ถ้าไม่มีสิ่งนี้อยู่ เราก็จะเริ่มเขียนยากเเละอาจจะเขียนไม่ได้เลยก็เป็นได้ จินตนาการในการเขียนมันต้องมี ก่อนที่เราจะเรียกได้เต็มปากว่านี้คือ จดหมายที่ฉันเขียน นี้คือประโยคที่ฉันสร้างมันขึ้นมา มันต้องผ่านการขัดเกลามาก่อนหน้านั้น ถึงจะเรียกได้ว่าประสบการณ์ ผิดถูกไม่เป็นไร เดียวให้ครูเขาเเก้ให้ เเละเราก็เรียนรู้จากตรงที่ผิด เพื่อทำให้มันถูก มันต้องทำอะไรผิดไปก่อน ซึ่งเป็นเรื่องปกติมากๆ ก่อนที่เราจะมาเขียนให้ถูก ใช่ไหมครับ? ในระยะเวลาที่ผมได้ทำการสอนภาษาเยอรมันมาผ่านมาหลายปี จะเห็นการพัฒนาของเเต่ละคนไม่เหมือนกัน ช้าหรือเร็วอาจจะยังไม่สำคัญ สุดท้ายเเล้วขอให้เข้าใจหลักการของมันในเบื้องต้นก่อน

ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องในการเขียนนั้น ผมขอยกตัวอย่างเอาจดหมายมาอธิบาย ก็เเล้วกันนะครับ เพราะจดหมายไม่ว่าจะเป็นของ A1 A2 B1 เเละสูงกว่านี้ มันจะมีอยู่อย่างหนึ่งที่เหมือนกัน นั้นก็คือการ แก้หรือตอบโจทย์ ให้ตรงกับคำถามที่เขาให้มานั้นเองครับ ส่วนความยากตามลำดับของข้อสอบเลย จาก A1 จนถึงสูงขึ้นไปเรื่อยๆ

เเละมันยากยังไงหรือ? ยกเป็นตัวอย่างคือเราต้องสามารถเขียนได้ทั้ง 3 รูปเเบบ คือ:

Präsens = ปัจุบันกาล

Perfekt/Präteritum/Plusquamperfekt = อดีตกาล

Futur = อนาคตกาล

รูปเเบบในการเขียน ถ้าเราต้องการจะให้เก่งเเละดีขึ้นมันไม่มีอะไรที่จะมาช่วยเรานอกจากการฝึกเขียนเยอะๆ ส่งให้ครูตรวจ เเละเเก้ไข หาคำตอบให้ได้ ที่เราเขียนผิดเพราะอะไร เเละนี้คือคำตอบครับ

วิธีในการ เขียน ให้เข้าใจ

หลังจากเราได้เรียนรู้คำศัพท์มาในระดับหนึ่งเเล้ว ภารกิจของเรายังไม่จบสิ้นนะครับ ถ้าให้ดีเราต้องเอาคำพวกนี้ มาเรียบเรียงเองใหม่ให้ถูกต้อง เหมือนตอนเราอ่านหนังสือนั้นเเละครับ เพื่อให้เราเรียนรู้วิธีในการเขียนนั้นเอง

หยิบเอาคำศัพท์มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นพวก:

ประธาน: Personalpronomen

การิยา: Verben

คำนาม: Nomen

คำคุณศัพท์: Adjektive

ให้เรานึกก่อนเสมอในภาษาไทยว่าจะเขียนอะไร เเละก็ตามมาด้วยในภาษาเยอรมัน ยกตัวอย่างเช่น Heute bleibe ich zu Hause. (วันนี้ฉันคงอยู่ที่บ้าน) จะเห็นได้ว่าทุกตัวอักษรที่เราเขียนออกมามันก็ต้องรู้ว่าใช้คำอะไรบ้าง เห็นไหมครับ ทุกคนยังจำได้ไหม? ในสิ่งที่ผมเคยบอกไปก่อนหน้านั้นเเล้วว่า คำศัพท์มันต้องได้ก่อนทุกครั้ง ไม่อย่างนั้นเเล้วมันจะเขียนไม่ได้นะครับ เเละกว่าที่เราจะเขียนออกมาได้มันอาจจะต้องใช้เวลานิดหนึ่ง อันนี้เป็นพื้นฐานไปก่อน

โครงสร้างในการเขียน มันมีรูปเเบบของมันอยู่

เขียนขึ้นต้นด้วยประธาน:

ich, du , er, sie, es, wir, ihr, sie, Sie

Ich heisse Martin. ฉันชื่อมาร์ติน

Er kommt aus Korea. เขามาจากเกาหลี

เขียนคำถาม ขึ้นต้นด้วย W Fragen:

was, wo, wie, wohin, woher, wie viel

Was machst du? เธอทำอะไร?

Wo ist er? เขาอยู่ที่ไหน?

เขียนขึ้นต้นด้วย เพศ:

der, die, das/ ein, eine

Der Mann ist 35 Jahre alt. ผู้ชายคนนี้อายุ 35 ปีเเก่

Eine Frau ist gekommen. ผู้หญิงคนหนึ่งเป็นในการมาเเล้ว

ฝึกฝนในการเขียนถือว่าสำคัญเช่นกัน ลองให้เราฝึกเขียนลงในสมุดเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเขียน จดหมายในข้อสอบ A1 หรือ อาจจะเป็นข้อความสั้นๆในแมสเซนเจอร์ FB, Line หรือ whatsApp

ถ้าเราเขียน จดหมาย ของข้อสอบ สิ่งที่มันต้องมีในการเขียนลงไปคือ:

สถานที่เขียน วัน เดือน ปี

อ่านโยคเเล้วต้องรู้ว่า จดหมายฉบับนี้เป็น:

เขียนเป็นทางการ

เขียนหาถึงเพื่อน

เนื้อเรื่องเขาให้เราเขียนเเบบไหน?

ตรงนี้อาจจะยาก เพราะต้องเขียนเหตุผล

เเต่ก็ไม่ใช้ว่าเขียนกันไม่ได้นะครับ ทุกอย่างคือการฝึกซ้อม ส่วนตัวผมฝึกในการเขียน จดหมาย กับนักเรียนประมาณ 30 ฉบับ เพื่อให้เกิดความเคยชิน พอเราเขียนได้เเล้ว ยังไงๆ เราก็จะจำได้อยู่อาจจะไม่ได้ลืมวันนี้พรุ้งนี้ ถ้าเรามีเวลาว่างๆ ก็หัดเขียนลงในสมุดโดยสร้างประโยค สั้นๆ เอาก็ได้ มันไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับ จดหมาย A1 ก็ได้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งนะครับทุกคน ความรู้ทั้งหมดนี้ได้เรียบเรียงโดย เรียนภาษาเยอรมันพัทยา