วิธีการ "พูด" ให้คนเข้าใจ

 

[พูด-sprechen]

พูดยังไงให้รู้เรื่อง

การพูดเป็นสิ่งสุดท้ายหลังจากที่ได้เรียนรู้ทั้งหมดไปเเล้ว ไม่ว่าจะเป็นการ ท่อง Alphabet ตัวอักษรในภาษาเยอรมัน ได้เรียนรู้ของเรื่อง สระ A E I O U เพื่อเอามาใช้ในการสะกดเสียงให้ถูกต้อง Buchstaben-kombinationen (ตัวอักษรที่เขียนติดกัน) ที่มันจะมีในการออกเสียงของตัวมันเองโดยเฉพาะ 

พอได้พวกนี้เสร็จเเล้วเราก็จะมาฝึกในการอ่าน ความจริงเเล้วถ้าให้ดีต้องมีครูคอยประกบเพื่อให้นักเรียนอ่านภาษาเยอรมันให้ถูกต้อง พออ่านผิดออกเสียงไม่ถูกครูเขาจะได้เเก้ให้ในตอนนั้นเลย เพราะถ้าอ่านเองคงจะยังไม่ค่อยได้ในตอนเเรกนะครับ

พอเราอ่านออกสะกดคำเป็น คราวนี้เราก็จะไปหัดท่องจำคำศัพท์ มันจะเเม่นเเละจดจำได้ง่ายกว่าคนที่ยังอ่านไม่เป็นเเน่นอนครับ เเละการเรียนมันจะช้ากว่าคนอื่นเขา วิธีเเก้คือลองไปดูพวก ตัวอักษรในภาษาเยอรมันให้ดีก่อน ตามที่ผมได้อธิบายไปก่อนหน้านั้นเเล้ว

เวลาว่างๆ ก็ให้เราพยามฝึกอ่านเอาไว้ก่อน เป็นอะไรที่สำคัญนะครับ เพราะเราจะเอามาฝึกในการพูด การพูดสำหรับผมเเล้วคือการ ท่องจำประโยค ยาวๆ อย่างเช่นการเเนะนำตัวเองคือ:

Mein Name ist Malisa Meier. (ฉันชื่อมาลิสา ไมเยอร์) Ich bin 20 Jahre alt. (ฉันเป็นอายุ 20 ปี) Ich komme aus Thailand und wohne in Bangkok. (ฉันมาจากประเทศไทยเเละอาศัยอยู่ในกรุงเทพ) Ich spreche Thailändisch, Englisch und einbisschen Deutsch. (ฉันพูดภาษาไทย อังกฤษ เเละนิดหน่อยเยอรมัน) Von Beruf bin ich Studentin. (จากอาชีพฉันเป็นนักศึกษาผู้หญิง) Mein Hobby ist Musik hören. (งานอดิเรกของฉันคือฟังเพลง)

เเบบเนียเเละครับคือการเริ่มต้นในการพูด มันต้องเอาเเบบง่ายๆไปก่อน เเล้วอีกหน่อยหลังจากที่เราได้เรียนรู้คำศัพท์ได้มากขึ้น เราก็จะสามารถเอาคำศัพท์ใหม่ๆ พวกนี้ มาขยายความของการพูดเเบบลึกๆ เเละไปไกลได้อีกด้วย


วิธีในการ พูด ให้เข้าใจ

หลังจากเราได้เรียนรู้คำศัพท์มามากพอเเล้ว มันก็จะถึงเวลาเสียทีในการเรียบเรียงคำ ซึ่งเราก็เอาของบทเรียน Schreiben (เขียน) มาใช้ได้เลยครับ เห็นไหมครับเรียนครั้งเดียวสามารถเอาไปใช้ได้ทั้งสองทาง เขียน จดหมาย Email หรือ พูดก็ยังได้

การเรียบเรียงคำนั้น สิ่งที่จะต้องระวังคือประโยคที่เราต้องการสื่อสาร มันเป็น ปัจุบัน, อดีต หรือ อนาคต นี้เองครับ ผมขอยกตัวอย่างเช่น:

ปัจุบัน:    Was machst du heute Abend?    เธอทำอะไรวันนี้ตอนเย็น

อดีต:       Was hast du gestern gemacht?       เมื่อวานเธอทำอะไร

อนาคต:   Ich werde nächste Woche nach Bangkok fahren.                                        Kommst du mit?

                อาทิตย์หน้าฉันจะไปกรุงเทพ เธอมาด้วยไหม?

มีใครเคยคิดเหมือนผมไหม? ตกลงเราจะไปพูดอะไรกับเขาดี? ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทักทายสบายดีไหม? เป็นอยู่อย่างไร? ทำงานอะไร? วันหยุดไปเที่ยวไหนมา? อย่างนี้เป็นต้น เห็นไหมครับ มันมีอะไรเยอะมากมายในการพูดคุย

เราอาจจะต้องสร้างประโยคขึ้นมาจดเอาไว้ก่อนก่อนที่จะไปถามเขาหรือพูดคุยกับเขานั้นเอง เพราะเรื่องของการจดบันทึกลงสมุด คือการเรียนรู้ที่ถูกวิธีอยู่เเล้ว

คำพวกนี้ ที่เราได้จดเอาไว้ จะสังเกตุได้ว่า มันก็คือคำเก่าๆ ที่เราเคยได้เอาไปใช้เเล้วก่อนหน้านั้น ถูกต้องครับ มันเป็นเเบบเนียเเละ คำถามหรือการพูดคุยกัน มันจะหนีกันไม่ไกลมากนะ เเต่ผมขอเอาไว้อยู่เรื่องหนึ่งนะ ไม่ใช่ว่าจดลงสมุดไปเเล้วก็เก็บเเช่เอาไว้ในลิ้นชัก ไม่ได้นะครับ เราก็ต้องเอามาใช้จริงๆด้วย มันจะเป็นผลดีต่อผู้เรียนอย่างเเน่นอน


สิ่งหนึ่งที่ทำให้เรา ได้พัฒนาการอย่างก้าวกระโดดในเรื่องของการพูดนั้น ก็คงนี้ไม่พ้นเรื่องของความกล้านะครับ เอาตรงๆ คือเราต้องหน้าด้านไว้ก่อนเพื่อให้เราไปได้ไกลกว่าที่เราเป็นอยู่ในเวลานี้

ใช่ครับหลายคนเลยที่จะยังไม่อยากจะไปพูดกับเจ้าของภาษา ทั้งๆที่ได้เรียนภาษาเยอรมันมาเเล้วก็ตาม เหมือนกับว่ายังกลัวๆอยู่ ซึ่งมันก็คือความคิดที่ผิด ไม่ต้องไปอายหรือกลัวนะครับ จงจำเอาไว้ เขาไม่ทำรายเราเเน่นอน! อย่างน้อยเขาเเค่เดินหนีไปเท่านั้นเอง พูดผิดพูดถูกไม่เป็นไร ยังไงเราก็ได้ทำขั้นตอนเเรกไปเเล้ว อันนี้ถือว่าสำคัญนะครับ พอก้าวต่อไปมันก็จะเริ่มง่ายเเล้วละครับ

เพราะนอกจากฝึกในการพูดไปในตัวเเล้ว อีกหน่อยเราจะเริ่มมี สไตล์ ในการสนทนาเเล้วนะครับ เพราะการพูดการเจรจา เเต่ละคนมันจะออกมาไม่เหมือนกัน เนียเเละครับมันเลยต้องอาศัยเจ้าของภาษาในการโต้ตอบเเละฝึกฝนไปด้วยนี้เอง ความรู้ทั้งหมดนี้ได้เรียบเรียงโดย เรียนภาษาเยอรมันพัทยา